สมุนไพรกวาวเครือแดง เป็นสมุนไพรสำหรับเพศชายอย่างแท้จริง เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ และที่สำคัญที่สุดยังช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มจำนวนของอสุจิ มีฤทธิ์เพิ่มความแข็งตัวของอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับยาไวอากร้า
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกวาวเครือแดง
- ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสมุนไพนกวาวเครือแดง มีฤทธิ์เหมือนเอสโตรเจน ช่วยกดการทำงานของหัวใจ ช่วยทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันโลหิต และช่วยกระตุ้นการหายใจ
- จากการศึกษาทางเภสัชวิทยา ของฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลอง พบว่าหนูแรทตัวผู้ที่ได้รับกวาวเครือแดงในรูปแบบผงป่นละลายน้ำเข้มข้น 0.5 และ 5 มก./มล. ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ พบว่าหนูแรทมีน้ำหนักตัวและปริมาณของอสุจิเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนหนูแรทที่ได้รับกวาวเครือแดงในรูปแบบสารสกัดเอทานอล พบว่าความยาวขององคชาติเพิ่มขึ้น ทำให้หนูมีพฤติกรรมการสิบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น และเมื่อศึกษาต่อไปถึง 6 สัปดาห์ พบว่าหนูที่ได้รับกวาวเครือแดงแบบผงป่นละลายน้ำ มีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ Seminal Vesicles ต่อมลูกหมาก ความยาวขององคชาติ และพฤติกรรมการสืบพันธุ์เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนูที่ได้รับกวาวเครือแดงในรูปของสารสกัดเอทานอล กลับมีน้ำหนักสัมพัทธ์ของ Seminal Vesicles ลดลง และเมื่อศึกษาไปในระยะยาวและในปริมาณของสารสกัดที่เพิ่มมากขึ้นก็พบว่าระดับฮอร์โมน Testosterone ลดลง และมีปริมาณเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น ดังนั้นการรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดพิษต่อตับได้ (พิชานันท์ ลีแก้ว.2553. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. จุลสารข้อมูลสมุนไพร)
- การศึกษาทางคลินิกของฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ในอาสาสมัครที่มีอาการหน่อยสมรรถภาพทางเพศอย่างน้อย 6 เดือน เมื่อรับประทานกวาวเครือแดงแคปซูล (ในขนาด 250 มิลลิกรัมต่อแคปซูล วันละ 4 แคปซูล) เป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าอาสาสมัครมีสมรรถภาพทางเพศที่ดีขึ้นสูงถึง 82.4% จึงกล่าวได้ว่ากวาวเครือแดงสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศได้ และไม่พบการเกิดพิษแต่อย่างใด (พิชานันท์ ลีแก้ว.2553. โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ. จุลสารข้อมูลสมุนไพร)[1]
- การศึกษาพิษเรื้อรังของกวาวเครือแดง ได้มีการทดลองในหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่าการให้ผงกวาวเครือแดงขนาด 10 มก./กก. ต่อวัน พบว่าไม่มีพิษต่อค่าทางโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน ส่วนหนูทดลองที่ได้รับในปริมาณมากกว่า 100 มก./กก. ต่อวัน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าโลหิตวิทยา ค่าทางชีวเคมีและพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน และโดยเฉพาะในหนูทดลองที่ได้รับผงกวาวเครือขนาดสูงสุด (1,000 มก./กก. ต่อวัน) พบว่ามีระดับเอนไซม์ Aspartate aminotransferase, Alanine aminotransferase, Alkaline phosphatase และ bilirubin ซึ่งแสดงถึงการทำงานของตับเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ และจากการตรวจสอบทางจุลพยาธิก็พบว่าเกิดความผิดปกติในตับหนูอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองจึงพบว่าการให้ผงกวาวเครือแดงในขนาด 250 มก./กก. ต่อวันหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะภายในของหนูโดยเฉพาะที่ตับ
แบ่งปันข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับบล็อกของคุณบล็อกมีประโยชน์จริง ๆ สำหรับเรา เราอ่านบล็อกของคุณแบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์ที่สุดในบล็อก ขอบคุณที่แบ่งปันบล็อกของคุณที่นี่butea superba
ตอบลบ