24 ก.ย. 2561

เถาวัลย์เปรียง ...สมุนไพรที่ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับคนรุ่นใหม่  แต่ความจริงคนโบราณรู้จักนำเอาเถาวัลย์เปรียงมาใช้ประโยชน์ในทางยามานานแล้ว




ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลดก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน   กลอนของท่านสุนทรภู่บทนี้สอนว่าจิตใจมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง แต่สำหรับพืชไม้เลื้อยอย่างเถาวัลย์เปรียงนั้นกลับได้รับการเชื่อถือและยอมรับในวงการแพทย์พื้นบ้านและแผนปัจจุบันด้วยสรรพคุณชั้นยอดในการแก้อาการปวดเมื่อย และรักษาโรคอื่น ๆ ของมัน

สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เครือตาปลา เครือไหล (เชียงใหม่), เครือตับปลา (เลย), เถาตาปลา เครือเขาหนัง ย่านเหมาะ (นครราชสีมา), พานไสน (ชุมพร), เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เครือตาปลาโคก (หากเกิดบนบก) เครือตาปลาน้ำ (หากเกิดในที่ลุ่ม) (ภาคอีสาน), เถาวัลย์เปรียงขาว เถาวัลย์เปรียงแดง (ภาคกลาง), ย่านเหมาะ ย่านเมราะ (ภาคใต้) เป็นต้น

เถาวัลย์เปรียงหลากชื่อเรียก

          เถาวัลย์เปรียง หรือชื่อภาษาอังกฤษเพราะ ๆ ว่า Jewel Vine  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens (Roxb.) Benth. อยู่ในวงศ์ถั่ว  FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE เป็นสมุนไพรที่พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย จึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น  ภาคกลางเรียกเถาวัลย์เปรียงแดง หรือ เถาวัลย์เปรียงขาว ตามสีของเนื้อไม้ ภาคเหนือเรียกเครือเขาหนัง หรือ เครือค้องแกบ ภาคอีสานเรียกเครือตับปลา หรือ เครือตาปลา ภาคใต้เรียกย่านเหมาะ หรือ ย่านเมราะ

เถาวัลย์เปรียงสรรพคุณเลอค่า สมุนไพรช่วยบอกลาอาการปวด

          เถาวัลย์เปรียง...สมุนไพรที่ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้นหูสำหรับคนรุ่นใหม่  แต่ความจริงคนโบราณรู้จักนำเอาเถาวัลย์เปรียงมาใช้ประโยชน์ในทางยามานานแล้ว

          ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลดก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน   กลอนของท่านสุนทรภู่บทนี้สอนว่าจิตใจมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง แต่สำหรับพืชไม้เลื้อยอย่างเถาวัลย์เปรียงนั้นกลับได้รับการเชื่อถือและยอมรับในวงการแพทย์พื้นบ้านและแผนปัจจุบันด้วยสรรพคุณชั้นยอดในการแก้อาการปวดเมื่อย และรักษาโรคอื่น ๆ ของมัน

  บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เถาวัลย์เปรียงจัดอยู่ในกลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ระบุรูปแบบและขนาดวิธีใช้ยาดังนี้

1. บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ

ผงจากเถาของเถาวัลย์เปรียง รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที

2. บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาการปวดจากข้อเข้าเสื่อม

สารสกัดจากเถาด้วย 50%เอทานอล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที
 
ข้อห้ามใช้

ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์

คำเตือน
ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยแผลเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์  จึงอาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

อาการไม่พึงประสงค์  

ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว


องค์ประกอบทางเคมี:
          สารกลุ่ม isoflavone glycoside ได้แก่ eturunagarone, 4,4’-di-O-methylscandenin, lupinisol A, 5,7,4’-trihydroxy-6,8-diprenylisoflavone, 5,7,4’-trihydroxy-6,3’-diprenylisoflavone, erysenegalensein E, derrisisoflavone A-F, scandinone, lupiniisoflavone G, lupalbigenin, derrisscandenoside A-E, 7,8-dihydroxy-4’-methoxy isoflavone, 8-hydroxy-4’,7-dimethoxy isoflavone-8-O-b-glucopyranoside, 7-hydroxy-4’,8-dimethoxy isoflavone-7-O-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-beta-glucopyranoside, diadzein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, derrisscanosides A-B, genistein-7-O-[α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside

          สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ 3-aryl-4-hydroxycoumarins  สารกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ lupeol, taraxerol, b-sitosterol  สารอื่นๆ เช่น 4-hydroxy-3-methoxy benzoic acid, 4-hydroxy-3,5-dimethoxy benzoic acid


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:        

ฤทธิ์ต้านอักเสบ

      สารสกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยน้ำ นำมาทดสอบฤทธิ์ลดการอักเสบในหลอดทดลองโดยวัดการลดลงของเอนไซม์ myeloperoxidase(MPO) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในแกรนูลซึ่งอยู่ภายในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล ในระหว่างที่มีการอักเสบ MPO จะเคลื่อนที่ออกมา ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดน้ำลดการหลั่ง myeloperoxidase ได้ 88% โดยใช้ peritoneal leukocytes ของหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ ที่ถูกกระตุ้นให้อักเสบด้วย calcium ionophore และสารสกัดน้ำมีผลยับยั้งการสังเคราะห์สารอิโคซานอยด์ (eicosanoid) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ leukotriene B4  สารสกัดน้ำยังลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูขาว สายพันธุ์ Sprague–Dawley เมื่อใช้คาราจีแนนเหนี่ยวนำการบวม โดยพบว่าสารสกัดน้ำขนาด 100 และ 500 mg/kg เมื่อให้โดยการฉีดเข้าช่องท้องหนู สามารถลดการบวมได้ 82 และ 91% ตามลำดับ (Laupattarakasem, et al., 2003)

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX-1
       สกัดลำต้นเถาวัลย์เปรียงด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ 50% เอทานอล,เฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, บิวทานอล และน้ำ และแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดน้ำ 2 ชนิด คือ piscidic acid และ genistein 7-O-α-rhamnosyl (16)-β-glucopyranoside นำมาศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 50% เอทานอล, สารสกัดน้ำ, สาร genistein 7-O-α-rhamnosyl (16)-β-glucopyranoside และยามาตรฐาน aspirin  สามารถยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 (COX-1) ทำให้การสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ พรอสตาแกลนดินลดลง โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.11, 4.15, 4.0 และ 4-5 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ โดยสารสกัดน้ำ และเอทานอลของลำต้นเถาวัลย์เปรียงไม่มีผลยับยั้งเอนไซม์ COX-2 แต่ aspirin ยับยั้งเอนไซม์ COX-2 โดยมีค่า IC50 = 9-10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ สองชนิดคือ สารกลุ่มกรดฟีนอลิค คือ สาร piscidic acid ซึ่งจากรายงานการวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ทำให้หลับ กล่อมประสาท และระงับอาการไอ สารอีกชนิดเป็นสารกลุ่มไอโซฟลาโวนกลัยโคไซด์คือ genistein 7-O-α-rhamnosyl (16)-β-glucopyranoside ซึ่งมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารทั้งสองชนิดยังเป็นองค์ประกอบหลักในสารสกัด 50%เอทานอล (ประไพ และคณะ, 2556)

ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

       การทดสอบในหลอดทดลอง ของสารสกัด 50 % เอทานอลจากลำต้นเถาวัลย์เปรียง โดยใช้เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนนิวเคลียส (peripheral blood mononuclear cells, PBMC) ที่ได้จากอาสาสมัครปกติ และผู้ติดเชื้อเอชไอวี พบว่าใน PBMC ที่ได้จากอาสาสมัครปกติ สารสกัดมีผลเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ที่ความเข้มข้น 10 นาโนกรัม/มล. ถึง 5 ไมโครกรัม/มล. และผลนี้ลดลงเมื่อความเข้มข้นเพิ่มเป็น 100 ไมโครกรัม/มล. สารสกัดเพิ่มการทำงานของ natural killer (NK) cells ในคนปกติ ที่ความเข้มข้น 10 นาโนกรัม/มล. ถึง 10 ไมโครกรัม/มล. เมื่อทดสอบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี สารสกัดเพิ่มการทำงานของ natural killer (NK) cells ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม/มล (NK cell จัดเป็นเม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์ มีหน้าที่ทำลายเซลล์อื่นๆทั้งหมดที่มันไม่รู้จักว่าเป็นเซลล์ปกติของร่างกาย) นอกจากนั้นยังมีผลกระตุ้นการหลั่ง interleukin-2 (IL-2) จาก PBMC ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการกระตุ้นจากระบบภูมิคุ้มกัน (Sriwanthana and Chavalittumrong, 2001)

เถาวัลย์เปรียงหลากชื่อเรียก

          เถาวัลย์เปรียง หรือชื่อภาษาอังกฤษเพราะ ๆ ว่า Jewel Vine  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens (Roxb.) Benth. อยู่ในวงศ์ถั่ว  FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE เป็นสมุนไพรที่พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย จึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น  ภาคกลางเรียกเถาวัลย์เปรียงแดง หรือ เถาวัลย์เปรียงขาว ตามสีของเนื้อไม้ ภาคเหนือเรียกเครือเขาหนัง หรือ เครือค้องแกบ ภาคอีสานเรียกเครือตับปลา หรือ เครือตาปลา ภาคใต้เรียกย่านเหมาะ หรือ ย่านเมราะ

เถาวัลย์เปรียง
       
เถาวัลย์เปรียง หน้าตาเป็นยังไงนะ ?

          เถาวัลย์เปรียง เป็นพรรณไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่ เป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นช่อสีขาว กลีบรองดอกเป็นสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกนั้นจะเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ ผลเป็นฝักแบนเล็ก ๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณเด่นจนต้องรู้ !

1. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

          ในตำรับยาพื้นบ้าน มีการนำเถาของเถาวัลย์เปรียงมาคั่วชงน้ำ แล้วดื่มกินแก้ปวดเมื่อย ส่วนตำรับยาแผนปัจจุบัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโรงพยาบาลวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ร่วมกันวิจัยทางคลินิกเพื่อศึกษาประสิทธิผลและผลข้างเคียงของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง จำนวน 70 ราย แล้วพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเถาวัลย์เปรียงชนิดแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน มีอาการปวดหลังลดลงไม่ต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลาเท่ากัน

2. พิชิตโรคข้อเข่าเสื่อม

          เถาวัลย์เปรียงนับเป็นสมุนไพรที่ช่วยแก้ปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้ดีทีเดียว ดังที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เคยร่วมวิจัยกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แล้วพบว่า ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับยานาโปรเซน ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ มีประสิทธิผลในการรักษาและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากผู้ที่รับยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์

3. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย

          ตามตำรับยาแผนโบราณ เถาวัลย์เปรียงถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะเพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีงานวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วยสนับสนุนเรื่องนี้ด้วยเช่นกันค่ะ โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดี 59 คน กินแคปซูลสารสกัดเถาวัลย์เปรียงวันละ 400 มิลลิกรัม เช้า-เย็น เป็นเวลา 2 เดือน ก็พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ กับร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยควบคุมหรือเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริง ๆ

4. รักษาอาการตกขาว

          สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียงยังดีต่อสุขภาพผู้หญิงเช่นกัน เพราะช่วยรักษาอาการตกขาวชนิดที่ไม่มีอาการคัน ไม่มีกลิ่น และไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ด้วยค่ะ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาแต่โบราณแล้ว วิธีใช้ก็คือ นำเถาวัลย์เปรียงสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มดื่มต่างน้ำ หรือดื่มวันละ 3 เวลา

5. ขับโลหิตเสีย-ช่วยให้มดลูกเข้าอู่

          อีกหนึ่งสรรพคุณที่พืชชนิดนี้มีดีต่อผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรก็คือ มีฤทธิ์ช่วยขับโลหิตเสียของผู้หญิง โดยการนำเถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ นำมาต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ นอกจากนี้เถาวัลย์เปรียงยังช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โดยการนำเถาสดมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบบนหน้าท้องคุณแม่หลังคลอด จากนั้นนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงบนเถาวัลย์เปรียง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

lag

English French German Spain Russian Japanese Arabic Chinese Simplified

Blog Archive

Fanpage

Popular Posts

Recent Posts

News สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

Text Widget