29 พ.ย. 2557

กระชายดำ

กระชายดำ โสมไทยหรือ  ว่านกระชายดำ

กระชายดำชื่อสมุนไพร กระชายดำ Black Galongale
ชื่อวิทยาศาสตร์กระชายดำ: Kaempferia parviflora Wallich.ex Baker. (K.rubromarginata) (S.Q Tongl.)
ชื่อวงศ์กระชายดำ ZINGIBERACEAE เช่นเดียวกับ กระชาย กระชายแดง ขมิ้น ข่าและว่านรกราคะ
ชื่อ อื่นๆ ของกระชายดำ เช่น กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง(ส่วนมากใช้เรียกในภาคเหนือ) ขิงทราย(หมาสารคาม)

     สมุนไพรกระชายดำ ถิ่นกำเนินจะอยู่บริเวณในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ สามารถพบกระชายดำ ที่มีจำนวนมากนั้นจะในบริเวณประเทศมาเล และเกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดวจีน และไทยซึ่งจะมี กระชายดำอยู่หนาแนนมากและยังมีการกระจายพันธุ์ของ กระชายดำไปทั่วในเอเชียเขตร้อน เช่นประเทศ จีนตอนใต้ อินเดีย และประเทศพม่า
สำหรับประเทศไทยกระชายดำ ได้เป็นสมุนไพร ที่นิยมใช้กันจำนวนมากจึงได้เริ่มปลูก กระชายดำ มากขึ้นเลื่อยๆ ใน จังหวัต่างๆ เช่น เลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ของภาคเหนือ
กระชาย ดำ

สรรพคุณของ กระชายดำนั้นมีอะไรบ้าง

    กระชายดำเป็นสมุนไพรที่ขึ้นชื่อด้วยเรื่องเพิ่มสมรรถภาพเลยที่เดียวและมีสรรพคุณ เพิ่มฮอร์โมนเพศ เพิ่มความต้องการทางเพศ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยรักษาอาการโรคกระเพาะ จากกระ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา

กระชายดำ นั้นมีประโยชน์และสรรพคุณ มากมายและยังช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้หลากหลายชนิด

สรรคุณและประโยชน์ทั้งหมดของ กระชายดำ
  1. สมุนไพรกระชายดำ มักใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ลง คนโบราณมีความเชื่อว่าเมื่อนำ กระชายดำ ไปปลุกเสกจะมีคุณทางคงกระพันชาตรี
  2. คนโบราณจะใช้กระชายดำ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้กามตายด้าย(เสื่อมสมรรภาพทางเพศ) โดยการใช้ เหง้าหรือส่วนหัวของ กระชายดำ ผสมกับสมุนไพรอื่นๆ นำมาดอกเหล้าเพื่อใช้เป็นยาชูกำลัง
  3. กระชายดำสามารถบำรุงธาตุในร่างกายได้ดี ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย
  4. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ในตอนกลางคืน ทำให้นอนหลับสะบาย
  5. ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยจยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ ช่วยบำรุงโลหิต (บำรุงเลือด)
  6. ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงขึ้นได้
  7. นอกจากจะบำรุงกำลังของ ผู้ชายแล้ว กระชายดำยังช่วยบำรุงโหลิตสตรี(บำรุงเลือดผู้หญิง)
  8. ช่วยแก้อาการตกขาวของผู้หญิง
  9. ช่วยขับประจำเดือน ช่วยทำให้ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ กลับมาปกติ
  10. ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหยาอนคล้อดได้ โดยการนำเหง้าหรือหัวของ สมุนไพรกระชายดำ มาโขลกและสผมกับเหล้าขาว แล้วนำมาดื่ม
  11. ช่วยขับพิษในร่างกาย
  12. แก้อาการมือเท้าเย็น
  13. ช่วยรักษา อาการเหน็บชา
  14. ช่วยรักษาอาการปวดตามข้อ
  15. ช่วยรักษาโรคเก๊า

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ กระชายดำ

  • ต้นกระชายดำ จัดเป็นไม้ลมลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู้ใต้ดิน (หัวกระชายดำ) มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักจะมีขนานดเท่าๆ กัน มีหลายเหง้า ผิวของเหง้าหรือหัวมีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม ส่วนภายในหรือเนื้อของกระชายดำ จะมีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีดำเหง้าหรือหัว กระชายดำมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยกระชายดำที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มจนถึงสีดำ กระชายดำจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วง เดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
สรรพคุณ กระชายดำสมุนไพร กระชายดํา
  • ใบกระชายดำ ใบลักษณะเป็นใบเดี่ยว เป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ขอบใบจะหยักตามเส้นมบ ด้านปลายของใบกระชายดำจะแหลม ผิวใบเป็นร่องคลื่นตลอดทั้งใบ สีของใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนของก้านมีลักษณะเป็นสีแดงตลอดความยาวของก้านและมีกาบหุ้มลำต้นไว้
ใบกระชาย ดำใบกระชายดำ
  • ดอกกระชายดำ เป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลดยาว ประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ลักษณะปลายของดอกจะแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว
ดอกกระชาย ดำดอก กระชายดำ
วิธีใช้กระชายดํา
วิธีใช้กระชายดำ เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ และใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด และลมป่วงทุกชนิด
  ถ้าเป็นเหง้าสด ให้ใช้ประมาณ 4-5 นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวดก่อนนำมารับประทานเป็นอาหารเย็น ในปริมาณ 30 cc. หรือจะฝานเป็นแว่นบางๆ แช่กับน้ำดื่ม หรือนำมาดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
หากเป็นเหง้าแห้งก็ให้ใช้ดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นาน 7 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนนอน
หากเป็นแบบชงหรือแบบผง ให้ใช้ผงแห้ง 1 ซอง ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ขนาด 120 cc.) และแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำตาลตามความต้องการ แล้วนำมาดื่ม
ประโยชน์ของกระชายดำ
ประโยชน์กระชายดำ ในปัจจุบันนอกจากเราจะใช้กระชายดำเพื่อเป็นยาสมุนไพรทั้งแบบหัวสดและแล้งแห้ง ยังมีการนำไปบดเป็นผงเพื่อบรรจุซองไว้ชงกับน้ำร้อนเพื่อใช้เครื่องดื่มเป็นเครื่องเสริมสุขภาพ น้ำกระชายดำ ลูกอมกระชายดำ แต่ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็คือการนำมาทำเป็น ไวน์กระชายดำ หรือนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร กระชายดําแคปซูล (แคปซูลกระชายดํา), กระชายดําผงดำ หรือแปรรูปเป็น กาแฟกระชายดํา
อ้างอิง
  1. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  กระชายดํา
  2. รายการสาระความรู้ทางการเกษตร ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.  บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2547.  ตอน กระชายดำ
  3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  กระชายดำ.  อ้างอิงใน: หนังสือพืชสมุนไพรเล่ม
รูปจาก thairudedrug.com เรียบเรียงใหม่โดย สมุนไพรไทย สรรพคุณ

1 ความคิดเห็น:

  1. ขายส่งกระชายดำสด แหล่งเพาะปลูกที่มีคุณภาพ จากเชิงเขาเลย ในเขตพื้นที่ที่มีความสูง 819 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากงานวิจัยพบว่ามีปริมาณสารฟินอลิกสูง อายุการเก็บเกี่ยวสมบูรณ์แก่เต็มที่ 8 เดือนขึ้นไป
    มี 3 เกรด

    เกรด A ราคา 87 บ/กก. มีวัตถุดิบ 0 กก.

    เกรด B ราคา 82 บ/กก. มีวัตถุดิบ 815 กก.

    เกรด C ราคา 78 บ/กก. มีวัตถุดิบ 395 กก.

    ได้โปรดสนใจติดต่อ Line ID: 99pst
    โทร. 0909078237 ดุ๊ก

    ตอบลบ

lag

English French German Spain Russian Japanese Arabic Chinese Simplified

Blog Archive

Fanpage

Popular Posts

Recent Posts

News สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

Text Widget