กลูเตน (Gluten) เป็นไกลโคโปรตีนที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด ซึ่งในปัจจุบันเราใช้กลูเตนในการผลิตขนมปัง ช่วยให้ขนมปังเหนียวนุ่ม น่ารับประทาน รวมทั้งในข้าวโอ๊ต เค้ก พาย ซีเรียล และใช้แทนเนื้อสัตว์ในอาหารเจอีกด้วย
การแพ้กลูเตน (Gluten Intolerance) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบการย่อยทางพันธุกรรมไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เกิดขึ้นเมื่อกลูเตนซึ่งไม่สามารถสามารถย่อยผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการเช่นเดียวกับการแพ้นม ผู้แพ้กลูเตนอาจมีอาการท้องอืด มีก๊าซในกระเพาะ และท้องเสีย แต่ไม่มีการอักเสบของลำไส้อย่างรุนแรง
โรคเซลิแอค (Celiac Disease) เกิดจากการอักเสบที่ลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมัน วิตามิน เกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ ผลจากการขาดสารอาหารที่ลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้เกินโรคอื่นๆตามมา
หากเราพยายามจะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์แต่ก็ยังพบว่ายังเจ็บนั่น ปวดนี่อย่างไม่มีสาเหตุ ลองมาเช็คดูค่ะว่าเราแพ้กลูเตนหรือไม่กับ 10 สัญญาณเตือนที่ต้องรู้ว่าคุณแพ้กลูเตน
1. มีปัญหาทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเสียและท้องผูก โดยเฉพาะเด็กๆจะสังเกตได้ง่ายโดยหลังจากทานอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบเข้าไปจะมีอาการเริ่มท้องผูก
2. เป็นโรคขนคุด (Keratosis Pilaris) มีลักษณะคล้ายหนังไก่จะพบอาการเหล่านี้ได้ตามท้องแขน เป็นผลมาจากการขาดกรดไขมันและวิตามิน A และส่งผลให้การดูดซึมไขมันแย่ลง เนื่องจากกลูเตนทำให้ลำใส้เสียหาย
3. อ่อนเพลีย สมองตื้อ หรือรู้สึกเหนื่อยหลังจากทานอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป
4. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิแพ้ตัวเอง เช่น ต่อมไทรอยด์เรื้อรังเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง หรือโรคยูซี โรคลูปัส โรคสะเก็ดเงิน โรคหนังแข็ง หรือ โรคปลอกประสาทอักเสบ (MS)
5. มีอาการทางระบบประสาท เช่น เวียนศรีษะ หรือ เสียการทรงตัว
6. ฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น อาการก่อนมีประจำเดือน เช่น อาการปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิด เจ็บคัดตึงเต้านม หรือเกิดจากฮอร์โมน เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดประจำเดือนนานๆ น้ำหนักมาก มีขนดกกว่าปกติที่ใบหน้า ร่องอก และท้องน้อย หรือภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุ
7. โรคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว
8. หากหมอบอกว่าคุณเป็นโรค Chronic fibromyalgia (อาการปวดของกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วร่างกาย) หรือมีอาการอ่อนล้าแต่กลับไม่สามารถบอกสาเหตุของอาการปวดหรืออ่อนล้าดังกล่าวได้
9. มีการอักเสบ บวม และปวดบริเวณข้อต่อ เช่น ข้อนิ้ว หัวเข่า หรือสะโพก
10. มีปัญหากับอารมณ์ของตัวเอง เช่น วิตกกังวล ซึ่มเศร้า อารมณ์แปรปรวน หรือสมาธิสั้น
หากลองเช็คแล้วพบว่าคุณเข้าข่ายเป็นโรคแพ้กลูเตน เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์พร้อมประวัติการรักษาเกี่ยวกับโรคปวดท้อง ลองหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ และหากสงสัยว่าจะเป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) ร่วม คุณอาจจะต้องหลีกเลี่ยงนมด้วย เพราะผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) จำนวนมากมีอาการแพ้นมด้วย เนื่องจากไม่สามารถย้อยแลคโตสได้
แหล่งที่มา :
http://www.thaihealth.or.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น