29 มิ.ย. 2557

สมอไทย


     มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia chebula Retz. จัดอยู่ในวงศ์ COMBRETACEAE เนื่องจากมีสารพวกแทนนิน [tannin - แทนนินมีคุณสมบัติเป็นยาฝาดสมาน (Astringent) ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ท้องเสียหรือใช้กับบาดแผลที่ผิวหนัง] จึงใช้เป็นยาสมาน แก้ลมจุกเสียด ยาเจริญอาหาร ยาบำรุงเป็นยาชง-อมกลั้วคอ แก้เจ็บคอ (น้ำต้มสมอไทย ผสมเกลือเล็กน้อย ใช้อมบ้วนปากจะช่วยรักษาแผลในปากได้ดี
ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกเป็นแผล) ใช้ภายนอก-บดเป็นผงละเอียดโรยแผลเรื้อรังลดอาการไอแก้อาการแพ้ หืด และไซนัสเรื้อรัง ขับน้ำเหลืองเสีย เป็นยาระบายอ่อนๆแก้พิษร้อนภายใน แก้ลมป่วง ระบายลม รู้ถ่ายรู้ปิดเอง คุมธาตุในตัวเสร็จ ถ่ายพิษไข้ บำรุงสุขภาพ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายในประเทศอินเดียสารสกัดจากสมอไทยใช้ในการรักษาโรคหลายชนิด เช่น โรคระบบทางเดินอาหารอาการอาหารไม่ย่อย โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน (เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดช่วยควบคุมน้ำตาล ไม่ให้สูงเกินไป ในผู้ป่วยเบาหวาน)โรคผิวหนัง โรคพยาธิ โรคหัวใจ อาการไข้เป็นระยะ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกแผลในทางเดินอาหาร อาเจียน อาการเจ็บปวดในลำไส้และริดสีดวงทวารหนักนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับไขมันในเส้นเลือดและช่วยการทำงานของตับในการำจัดไขมันออกจากร่างกาย รวมทั้งกระตุ้นการเผาผลาญของร่างกายได้อีกด้วยรสฝาดๆเปรี้ยวๆน้ำหนัก เพียง ๑๐๐ กรัมจะมีปริมาณสารอาหารที่ให้พลังงานต่อร่างกายถึง ๓๗๘ กิโลแคลลอรี่ (คนเราปกติต้องการพลังงานราววันละ ๒๒๐๐ กิโลแคลลอรี่ดังนั้นถ้ากินสมอไทยครึ่งกิโลกรัม ก็จะได้แคลลอรี่ขั้นต่ำต่อวัน)ใน ๑๐๐กรัม นั้นประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง ๘๘.๒ กรัม มีโปรตีน ๑๔๐๐ มิลลิกรัม(มก.) ไขมัน๕๐๐ มก. และมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ถึง ๓๕๐๐มก.นอกจากนี้ยังอุดมด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ ต่อร่างกายหลายชนิด ได้แก่วิตามินบี ๖ วิตามินบี ๑๒ กรดโฟลิก ไนอาซิน ไบโอติน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียมโปแตสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสีและยังมีไอโอดีนอย่างเดียวกับ ที่มีอยู่ในอาหารทะเลอีกด้วย ขอขอบคุณ ว พชร ข้อมูล และฝอยต่างๆ ที่ผมเขียน และเรียบเรียงนี้ ผมประมวล และรวบรวมมาจากสถาบันแพทย์แผนไทย (http://ittm.dtam.moph.go.th แพทย์หญิงเพ็ญนภาทรัพย์เจริญ - การแพทย์แผนไทยการแพทย์แบบองค์รวม, ตำรับอาหารไทยเพื่อสุขภาพของโภชนา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข)
และ อื่นๆที่ผมจำไม่ได้ว่ามาจากไหน ขอขอบคุณอย่างสูง สำหรับข้อมูลและรายละเอียดทั้งหมดครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

lag

English French German Spain Russian Japanese Arabic Chinese Simplified

Blog Archive

Fanpage

Popular Posts

Recent Posts

News สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

Text Widget